การให้เหตุผลด้วยกฎการแจงผลตามเหตุ กฎการแจงผลค้านเหตุ และกฎของตรรกบท ของ การให้เหตุผลแบบนิรนัย

กฎการแจงผลตามเหตุ

ดูบทความหลักที่: กฎการแจงผลตามเหตุ

(อังกฤษ: Modus ponens) หรือโมดัส โพเนนส์ บ้างก็เรียกว่า "การยืนยันข้อนำ" (affirming the antecedent) หรือ "กฎของการแยกออก" (law of detachment) เป็นกฏของการอนุมานแบบนิรนัยหลักซึ่งจะนำไปใช้กับการอ้างเหตุผลที่มีข้อตั้งแรกเป็นเงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์ ( P → Q {\displaystyle P\rightarrow Q} ) และมีข้อตั้งที่สองเป็นข้อนำของเงื่อนไขนั้น ๆ ( P {\displaystyle P} ) โดยจะได้ข้อตาม (consequent) ของเงื่อนไขนั้น ๆ เป็นข้อสรุป ( Q {\displaystyle Q} ) รูปแบบของการอ้างเหตุผลนี้เป็นไปตามด้านล่าง:

  1. P → Q {\displaystyle P\rightarrow Q}   (ข้อตั้งแรกเป็นเงื่อนไข)
  2. P {\displaystyle P}   (ข้อตั้งที่สองเป็นข้อนำ)
  3. Q {\displaystyle Q}   (ข้อสรุปที่นิรนัยได้คือข้อตาม)

ในการให้เหตุผลแบบนิรนัยรูปแบบนี้ ข้อตาม ( Q {\displaystyle Q} ) เป็นข้อสรุปจากข้อตั้งที่เป็นเงื่อนไข ( P → Q {\displaystyle P\rightarrow Q} ) และข้อนำของมัน ( P {\displaystyle P} ) แต่มว่าข้อนำนั้น ( P {\displaystyle P} ) ไม่สามารถเป็นข้อสรุปจากข้อตั้งที่เป็นเงื่อนไข ( P → Q {\displaystyle P\rightarrow Q} ) และข้อตามได้ ( Q {\displaystyle Q} ) การอ้างเหตุผลแบบนี้เป็นตรรกะวิบัติ (logical fallacy) ที่เรียกว่าการยืนยันข้อตาม (affirming the consequent) หรือกลับกันเป็น "การแจงเหตุจากผล"

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการอ้างเหตุผลที่ใช้กฏการแจงผลตามเหตุ:

  1. ถ้ามุม A {\displaystyle A} มีขนาด 90° < A {\displaystyle A} < 180° แล้วมุม A {\displaystyle A} เป็นมุมป้าน
  2. A {\displaystyle A} = 120°
  3. A {\displaystyle A} เป็นมุมป้าน

เนื่องจากการวัดค่ามุม A {\displaystyle A} มีขนาดมากกว่า 90° และน้อยกว่า 180° เราสามารถนิรนัยจากเงื่อนไข (ถ้า แล้ว) ได้ว่ามุม A {\displaystyle A} เป็นมุมป้าน แต่ถ้าเรารู้ว่ามุม A {\displaystyle A} เป็นมุมป้าน เราไม่สามารถนิรนัยจากเงื่อนไขได้ว่า 90° < A {\displaystyle A} < 180° อาจเป็นจริงได้ว่ามุมที่อยู่นอกพิสัยนี้ก็เป็นมุมป้านด้วย

กฎการแจงผลค้านเหตุ

ดูบทความหลักที่: กฎการแจงผลค้านเหตุ

(อังกฤษ: Modus tollens) หรือโมดัส โทลเลนส์ บ้างก็เรียกว่า "กฎของการแย้งสลับที่" (law of contrapositive) เป็นกฎของการอนุมานแบบนิรนัยซึ่งให้ความสมเหตุสมผลการอ้างเหตุผลที่มีข้อตั้งเป็นเงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์ ( P → Q {\displaystyle P\rightarrow Q} ) และนิเสธของข้อตาม ( ¬ Q {\displaystyle \lnot Q} ) และมีข้อสรุปเป็นนิเสธของข้อนำ ( ¬ P {\displaystyle \lnot P} ) ต่างจากกฎการแจงผลตามเหตุ การให้เหตุผลด้วยการแจงผลค้านเหตุไปในทิศทางตรงกันข้ามกับเงื่อนไข นิพจน์ทั่วไปของการแจงผลค้านเหตุเป็นไปดังต่อไปนี้:

  1. P → Q {\displaystyle P\rightarrow Q} . (ข้อตั้งแรกเป็นเงื่อนไข)
  2. ¬ Q {\displaystyle \lnot Q} . (ข้อตั้งที่สองเป็นนิเสธของข้อตาม)
  3. ¬ P {\displaystyle \lnot P} . (ข้อสรุปที่นิรนัยได้คือนิเสธของข้อนำ)

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการอ้างเหตุผลที่ใช้กฏการแจงผลค้านเหตุ:

  1. ถ้าฝนตก แล้วท้องฟ้าจะมีเมฆ
  2. ท้องฟ้าไม่มีเมฆ
  3. ดังนั้น ฝนไม่ตก

กฎของตรรกบท

(อังกฤษ: law of syllogism) ในแคลคูลัสเชิงประพจน์ กฎของตรรกบท ใช้เงื่อนไขสองข้อความและหาข้อสรุปด้วยการรวมสมมุติฐานของข้อความหนึ่งเข้ากับข้อสรุปของอีกข้อ รูปแบบทั่วไปเป็นดังต่อไปนี้:

  1. P → Q {\displaystyle P\rightarrow Q}
  2. Q → R {\displaystyle Q\rightarrow R}
  3. เพราะฉะนั้น P → R {\displaystyle P\rightarrow R} .

ตัวอย่างเป็นดังต่อไปนี้:

  1. ถ้าสัตว์เป็นยอร์กเชอร์เทร์เรียร์ แล้วมันเป็นสุนัข
  2. ถ้าสัตว์เป้นสุนัข แล้วมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
  3. เพราะฉะนั้น ถ้าสัตว์เป็นยอร์กเชอร์เทร์เรียร์ แล้วมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

เรานิรนัยข้อความสุดท้ายด้วยการรวมสมมุติฐานของข้อความแรกเข้ากับข้อสรุปของข้อที่สอง และเราก็อนุญาตให้ข้อความอาจเป็นเท็จได้ นี่เป็นตัวอย่างของสมบัติการถ่ายทอด (Transitive relation) ในคณิตศาสตร์ อีกตัวอย่างของสมบัติการถ่ายทอดคือภาวะเท่ากัน (Equality (mathematics)) ซึ่งกล่าวได้ในรูปแบบต่อไปนี้:

  1. A = B {\displaystyle A=B} .
  2. B = C {\displaystyle B=C} .
  3. เพราะฉะนั้น A = C {\displaystyle A=C} .

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การให้เหตุผลแบบนิรนัย http://www.iep.utm.edu/ded-ind http://www.aub.edu.lb/fas/cvsp/Documents/Descartes... http://philpapers.org/browse/deductive-reasoning https://www.amazon.com/dp/B081PT2CPR https://books.google.com/books?id=iFMhZ4dl1KcC https://www.academia.edu/4154895/Some_Remarks_on_t... https://inpho.cogs.indiana.edu/idea/636 https://archive.org/details/cognitivepsychol00ster... https://archive.org/details/cognitivepsychol00ster... https://www.scimath.org/article-mathematics/item/4...